1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูล
(input
unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์
โดยจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล
เช่น
แทร็กบอล (trackball)
แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เว็บแคม (Web Camera)
ไมโครโฟน (Microphone)
เครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Bar
Code Reader)
ก้านควบคุม (Joystick)
จอสัมผัส (Touch Screen)
2.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล
(output
unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) เช่น
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) เช่น
จอซีอาร์ที (CRT Monitor)
โปรเจ็คเตอร์ (Projector)
ลำโพง (Speaker)
2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) เช่น
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser
Printer)
เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line
Printer , Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์อักษร
(Character Printer)
เครื่องพิมพ์เทอร์มอล
(Thermal Printer)
เครื่องพลอตเตอร์
(Plotter)
3.หน่วยความจำหลัก
(Main Memory)
หน่วยความจำหลัก
(main memory)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หรือในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน
หน่วยความจำหลัก จะ
อยู่ภายในตัวเครื่อง แบ่งออกเป็น
- ROM (Read
Only memory) หมายถึงหน่วยความจำที่จะถูกอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น
โดยจะเก็บคำสั่งหรือโปรแกรมไว้อย่างถาวร แม้ปิดเครื่องก็จะไม่ถูกลบ
- RAM (Random
access memory) หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลหรือคำสั่งขณะที่เครื่องทำงาน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือคำสั่งได้ตลอดเวลาที่ยังเปิดเครื่อง
แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมจะถูกลบหายไป
4. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง
(central
processing unit) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ซีพียู (CPU) เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผล
เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ต้องการได้
ส่วนหน่วยความจำหลัก (main memory)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หรือในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน
โครงสร้างและสถาปัตยกรรม
จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ ALU
: Arithmetic and Logic Unit หน่วยที่ทำหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
มาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ และการเปรียบเทียบในเชิงตรรกะ เช่น AND
OR NOT Exclusive OR และการทำคอมพลีเมนต์ เป็นต้น
2. หน่วยควบคุม CU
: Control Unit หรือวงจรควบคุม Control Circuitry ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของซีพียูและจัดสรรสัญญาณนาฬิกาส่งออกไปให้ส่วนต่างๆ
อ้างอิงในการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น